การทดสอบเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของเพื่อนเราท่านหนึ่งที่ได้กรุณาฝากคำถามเอาไว้นะครับว่า “ในการทดสอบเสาเข็มจริงๆ นั้นเราสามารถที่จะทำการแบ่งออกได้เป็นการทดสอบเสาเข็มแบบใดได้บ้าง และ หากเราต้องการที่จะทำการทดสอบว่าเสาเข็มของเรานั้นมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เราควรที่จะใช้วิธีการใดในการทดสอบ ?”

เป็นคำถามที่ดีนะครับ ดังนั้นในวันนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาตอบคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนท่านนี้ ซึ่งก็รวมไปถึงเพื่อนๆ ทุกๆ คนด้วยนะครับ

ประเภทของการทดสอบเสาเข็มสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการหลักๆ คือ

1. การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (PILE INTEGRITY TEST)
ในการทดสอบเสาเข็มตามกรรมวิธีนี้ เราอาจจะทำการทดสอบเสาเข็มได้โดยวิธี SEISMIC TEST ก็ได้นะครับ ซึ่งข้อจำกัดจริงๆ ของการทดสอบโดยวิธีนี้ คือ ใช้ได้เฉพาะกับ เสาเข็มเจาะ หรือ เสาเข็มตอกที่มีจำนวนท่อนเพียง 1 ท่อน เท่านั้นนะครับ สาเหตุก็เป็นเพราะว่า ในขั้นตอนของการทดสอบโดยวิธีการนี้จะอาศัยการสะท้อนของคลื่นที่ถูกส่งผ่านลงไป และ ให้คลื่นนั้นสะท้อนกลับมาและทำการอ่านค่า ซึ่งหากเป็นเสาเข็มที่มีจำนวนหลายท่อนต่อแล้วเราจะพบว่าที่รอยต่อของเสเข็มเหล่านั้นจะมีแผ่นเหล็กเชื่อมต่ออยู่ทุกๆ รอยต่อ ดังนั้นพอคลื่นที่เราส่งลงไปเจอแผ่นเหล็กนี้เข้าก็จะสะท้อนกลับมาในทันที ทำให้ค่าที่อ่านได้จากเครื่องทดสอบจะไม่ใช่สถานะจริงๆ ที่เสาเข็มนั้นควรจะเป็นนั่นเองครับ

การทดสอบความสมบูรณ์เสาเข็มด้วยวิธีการ SEISMIC TEST นี้มีจุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการประเมินสภาพความสมบูรณ์ตลอดความยาวของตัวโครงสร้างของเสาเข็ม การทดสอบวิธีนี้เป็นการทดสอบที่สะดวก รวดเร็ว และ เสียค่าใช้จ่ายต่ำ จึงถือว่ามีความเหมาะสม และ เป็นที่นิยมใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ในขั้นต้น (PRELIMINARY TEST) หากว่าทำการตรวจสอบแล้วพบว่าเสาเข็มของเรานั้นมีสภาพที่บกพร่องขึ้น เราจึงค่อยทำการกำหนดวิธีการทดสอบอื่น ๆ ประกอบกับพิจารณา หรือ ดำเนินการซ่อมแซมตัวโครงสร้างเสาเข็มเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่อไป การทดสอบนี้จะระบุถึงข้อบกพร่องต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น รอยแตกร้าว (CRACK) โพรง หรือ ช่องว่าง (VOID) รอยคอด (SIZE REDUCTION) หรือ บวม (SIZE INCREASE) ของตัวดครงสร้างของเสาเข็มได้ เป็นต้นครับ

2. การทดสอบการรับ นน ของเสาเข็ม (PILE LOAD TEST)
ในการทดสอบเสาเข็มตามกรรมวิธีนี้ก็จะเหมือนที่ผมเคยได้ทำการยก ตย ไปก่อนหน้านี้แล้วนะครับว่าอาจทำได้ด้วย 2 วิธีหลักๆ คือ การทดสอบการรับ นน ด้วยวิธีพลศาสตร์ (DYNAMIC LOAD TEST) และ การทดสอบการรับ นน ด้วยวิธีสถิตศาสตร์ (STATIC LOAD TEST) ซึ่งข้อดีและข้อจำกัดต่างๆ ในการทดสอบทั้ง 2 แบบนี้ เพื่อนๆ ก็สามารถที่จะไปหาอ่านได้จากในโพสต์ของผมที่ผ่านมาก่อนหน้านี้นะครับ

สรุป แน่นอนนะครับว่าหากเราต้องการที่จะทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม เราต้องทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มนั่นเอง แต่ หากว่าเสาเข็มของเราเป็นเสาเข็มตอกหลายท่อนต่อกันละ จะทำอย่างไร ?

จริงๆ แล้วหากเพื่อนๆ ต้องพบเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้ก็ไม่ต้องตกอกตกใจไปนะครับ เพราะ หากว่าเสาเข็มของเราเป็นเสาเข็มตอกหลายท่อนต่อกันแล้วจริงๆ และ มีความคลางแคลงในใจว่าเสาเข็มของเราอาจที่จะเกิดความไม่สมบูรณ์ขึ้น หากแม้นว่าเราอาจจะไม่สามารถใช้วิธีการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มซึ่งเป็นวิธีการโดยตรงไม่ได้ แต่ เราก็ยังสามารถที่จะใช้วิธีการทางอ้อมในการทดสอบเสาเข็มแทนก็ได้นะครับ เช่น เราอาจทำการทดสอบการรับ นน ของเสาเข็มโดยวิธีพลศาสตร์ก็ได้ เพราะ ในการทดสอบโดยวิธีการนี้ ผลจากการทดสอบจะสามารถอ่านค่าความสมบูรณ์ของเสาเข็มได้ด้วย ซึ่งก็จะทำให้เราทราบว่าเสาเข็มของเรามีความสมบูรณ์ดีหรือไม่ และ ยังทำให้ทราบอีกด้วยว่าค่าการรับ นน ของเสาเข็มนั้นอยู่ในเกณฑ์ตามที่ได้ออกแบบเอาไว้หรือไม่เป็นของแถมอีกด้วยนะครับ ดังนั้นข้อเสียของการทดสอบด้วยวิธีการนี้จึงมีเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการทดสอบจะมีมูลค่าที่สูงกว่าการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มที่เราทำกันทั่วๆ ไปนั่นเองครับ เป็นต้น

ในตอนท้ายของโพสต์ๆ นี้ผมอยากที่จะฝากความรู้เล็กๆ ในการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มแก่เพื่อนๆ เอาไว้สักเล็กน้อยด้วยก็แล้วกันนะครับ เมื่อทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มแล้วจะปรากฏผลที่เป็นค่า PARAMETER ค่าหนึ่งขึ้น ซึ่งค่าๆ นี้เป็นผลจากการทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม นั่นก็คือค่า β นั่นเอง ซึ่งค่าๆ นี้ก็คือ ดัชนีที่จะใช้ในการประเมินระดับความเสียหายของโครงสร้างเสาเข็ม (DEGREE OF DAMAGE) นะครับ

โดยที่ค่า β นี้จะมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 1.00 ซึ่งหากผลแสดงออกมาว่าค่า β นี้เท่ากับ 1.00 ก็จะแสดงให้เห็นว่า เสาเข็มของเรานั้นมีความสมบูรณ์ดีมากๆ หากค่านี้ลดลงไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นการแสดงและบ่งบอกให้ทราบถึงลักษณะของสถานะความสมบูรณ์ของตัวโครงสร้างเสาเข็มของเราได้อีกด้วย ซึ่งเพื่อนๆ สามารถที่จะอ่านดูว่าค่าเกณฑ์ของระดับสถานะความเสียหายของโครงสร้างเสาเข็มนี้เป็นอย่างไรก็สามารถอ่านได้จากตารางที่ผมได้ทำการแนบมาในโพสต์ๆ นี้ได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com