เหตุใดการวางแนวลวดอัดแรงในโครงสร้าง คอร จึงต้องถูกทำการวางให้เป็นเส้นโค้งด้วย ?

17016091_1314711755241613_8255478121306540529_o1

17039359_1314711798574942_7770294916232842931_o1

17016118_1314711838574938_764807321427867124_o117021451_1314711868574935_1703470633364264005_n1

 

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1314712208574901

 

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หากดูในรูปที่ 1 เพื่อนๆ จะเคยสังเกตหรือไม่ครับ เวลาที่เราไปทำการเยี่ยมเยียนไซต์งาน หรือ ทำการควบคุมงานงาน คอร ณ หน้างาน เราเคยสงสัยกันหรือไม่ครับ ว่าเหตุใดการวางแนวลวดอัดแรงในโครงสร้าง คอร จึงต้องถูกทำการวางให้เป็นเส้นโค้งด้วย ? และ เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าในการออกแบบโครงสร้าง คอร ชนิดรับแรงดัด ไม่ว่าจะเป็น คาน หรือ พื้น ก็แล้วแต่ หนึ่งในเทคนิคที่ง่ายที่สุดในการทำงานการวางลวดอัดแรงเพื่อให้ขั้นตอนการอัดแรงนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดก็คือการวางแนวสูงต่ำของลวดอัดแรงให้เหมาะสมกับแรงที่ทำการออกแบบ

ผมขอยก ตย ประกอบนะครับ หากสมมติว่ามีโครงสร้างคานอยู่ทั้งหมดสองคาน โดยที่คานสองอันนี้มีหน้าตัดเหมือนกัน มีความยาวช่วงเหมือนกัน แตกต่างกันที่ชนิดของการรับ นน และ แนวสูงต่ำของการวางลวดอัดแรงภายในหน้าตัด

หากดูในรูปที่ 2 ก่อนนะครับ ในรูปนี้คานจะรับ นน บรรทุกแบบแผ่กระจายสม่ำเสมอเท่าๆ กัน (UNIFORMLY DISTRIBUTED LOAD) ซึ่งลักษณะเส้นโค้งในแผนภูมิเส้นโค้งที่แสดงค่าโมเมนต์ดัดของการรับ นน บรรทุกประเภทนี้จะเห็นได้ว่าเป็นเส้นโค้งพาราโบลา ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวการวางลวดอัดแรงซึ่งมีแนวสูงต่ำเป็นเส้นโค้งพาราโบลาเช่นกัน

หากดูต่อในรูปที่ 3 บ้างนะครับ ในรูปนี้คานจะรับ นน บรรทุกแบบเป็นจุด (CONCENTRATED LOAD) ซึ่งลักษณะเส้นโค้งในแผนภูมิเส้นโค้งที่แสดงค่าโมเมนต์ดัดของการรับ นน บรรทุกประเภทนี้จะเห็นได้ว่าเป็นเส้นตรง ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวการวางลวดอัดแรงซึ่งมีแนวสูงต่ำเป็นเส้นตรงเช่นกัน

เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าในการทำงานการวางลวดในงานโครงสร้าง คอร ที่พบเห็นกันมากที่สุดก็คือ แผ่นพื้นไร้คาน คอร ชนิดดึงลวดทีหลัง (POST-TENSIONED FLAT SLAB) นั่นเองครับ

เพื่อนๆ จะสามารถสังเกตได้จากในรูปที่ 4 นะครับว่าแนวสูงต่ำในการวางลวดอัดแรงในพื้นชนิดนี้ร้อยทั้งร้อยจะเห็นได้ว่าก็เป็นเส้นโค้งพาราโบลาเช่น เพราะอะไรทราบหรือไม่ครับ ?

เหตุผลก็ง่ายๆ ตรงไปตรงมาครับ เพราะว่าสมมติฐานตอนที่ทำการออกแบบแผ่นพื้นชนิดนี้ของวิศวกรผู้ทำการออกแบบก็คือ นน บรรทุกที่กระทำบนแผ่นพื้นจะเป็น นน บรรทุกแบบแผ่กระจายสม่ำเสมอเท่าๆ กันนั่นเองครับ

ดังนั้นหากเพื่อนๆ ไปดูเนื้อหาในวิชาการออกแบบโครงสร้าง คอร เพื่อนๆ จะพบว่าเรื่องหลักการในเรื่องการวิเคราะห์ออกแบบแนวการวางลวดอัดแรงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับชนิดของ นน บรรทุกนี้ก็คือเรื่อง EQUIVALENT LOAD BALANCING METHOD ครับ

เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องหลักการนี้ให้มากยิ่งขึ้นในวันพรู่งนี้ผมจะขออนุญาตมาขอยก ตย ในเรื่องการคำนวณค่าๆ นี้ต่อเพื่อนๆ เพิ่มเติมนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากพี่แขก และ เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยนะครับ จนกว่าจะพบกันใหม่

ADMIN JAMES DEAN

BSP-Bhumisiam
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก. ของ ภูมิสยาม ซัพพลาย ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586
http://www.micro-pile.com