การผสมปูนซีเมนต์กับดินเดิมสามารถทำได้ 2 วิธี

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในวันนี้ผมจะมากล่าวถึงกรณีที่เรานั้นไม่ต้องการที่จะให้อาคารที่เราทำการก่อสร้างซึ่งจะรวมไปถึงมวลดินที่อยู่ในบริเวณรอบๆ ตัวอาคารนั้นเกิดการทรุดตัวตามไปด้วยนะครับ

จริงๆ คำตอบที่ง่ายและตรงไปตรงมาของปัญหาข้อนี้ คือ เราจำเป็นที่จะต้องทำการพัฒนาคุณภาพของดิน (SOIL IMPROVEMENT) รอบๆ ตัวอาคารนั่นเองนะครับ โดยทั่วไปโครงสร้างของชั้นดินในบริเวณที่เป็นพื้นที่มีความดินอ่อนตัวมากจะมีเสถียรภาพต่อการรับน้ำหนักได้ค่อนข้างที่จะน้อย และ เมื่อมีน้ำหนักมากระทำบนดินก็จะเกิดการทรุดตัวที่มีค่าสูงมาก เราจึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของชั้นดินอ่อนนี้ก่อนการก่อสร้างอาคารนะครับ สำหรับวิธีการในการปรับปรุงคุณภาพของชั้นดินอ่อนนั้นมีด้วยกันหลายวิธีเลยนะครับ ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีทั้ง ข้อดี และ ข้อเสีย ที่แตกต่างกันไป โดยทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพของดินที่สามารถทำได้โดยง่าย และ ถือว่าได้ประสิทธิภาพดีมากๆ เลยก็คือ การทำเสาเข็มดินซีเมนต์ (SOIL CEMENT COLUMN) นั่นเองนะครับ

เสาเข็มดินซีเมนต์ หรือ SOIL CEMENT COLUMN คือ การที่เราทำการผสมปูนซีเมนต์กับดินเดิมซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การผสมระบบแห้ง (DRY PROCESS) และ การผสมระบบเปียก (WET PROCESS) โดยทั้ง 2 วิธีนี้จะมีข้อแตกต่างกันเฉพาะสถานะของปูนซีเมนต์ที่ถูกลำเลียงลงไปผสมกับดินนะครับ

สำหรับการผสมด้วยระบบแห้งเราจะใช้ปูนซีเมนต์ผสมกับดินเดิมโดยตรง ส่วนการผสมด้วยระบบเปียกเราจะใช้ปูนซีเมนต์ผสมน้ำแล้วจึงค่อยฉีดเข้าไปผสมกับดินเดิม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แต่ละวิธีนั้นมี ข้อดี และ ข้อเสีย ที่แตกต่างกันดังนี้นะครับ

วิธีการผสมแบบแห้ง (DRY PROCESS)

ข้อดีของการผสมแบบนี้มีดังนี้ครับ
1. ในกรณีที่ใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ที่เท่ากันๆ กำลังอัดของเสาเข็มระบบแห้งนี้จะมี่ค่าสูงกว่าระบบเปียก เพราะ ไม่มีการเติมน้ำในระหว่างการผสมนะครับ ซึ่งจะทำให้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์นั้นมีค่าต่ำ หรือ ในกรณีที่กำลังของเสาเข็มดินซีเมนต์นั้นเท่ากันๆ วิธีการผสมแบบแห้งก็จะใช้ปูนซีเมนต์ในปริมาณที่น้อยกว่าวิธีผสมแบบเปียกนะครับ โดยการผสมแบบแห้งนั้นจะใช้ปูนซีเมนต์ไม่น้อยกว่า 150 KG/CU.M ในขณะที่การผสมแบบเปียกจะใช้ปูนซีเมนต์ไม่น้อยกว่า 175 KG/CU.M นะครับ
2. การผสมโดยวิธีการนี้เราไม่จำเป็นต้องจัดหาน้ำในการผสม และ เหมาะสำหรับชั้นดินเหนียวที่มีเนื้อค่อนข้างที่จะสม่ำเสมอ และ มีความชื้นในดินสูงกว่า 60 ถึง 70% ตลอดทั้งชั้นดินนะครับ
3. ในสภาพหน้างานปกติเครื่องจักรกลจะสามารถทำงานได้ในอัตราที่เร็วกว่าวิธีการผสมเปียก เพราะ สำหรับเสาเข็มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 ซม ความยาว 16 เมตร ระบบผสมแห้งจะสามารถทำการก่อสร้างได้ที่ความเร็วประมาณ 6 ต้น ต่อ ชั่วโมง ในขณะที่การใช้ระบบผสมเปียกจะสามารถทำการก่อสร้างได้ที่ความเร็วประมาณ 3 ต้น ต่อ ชั่วโมง นะครับ
4. พื้นที่ๆ เราทำการก่อสร้างจะมีความสะอาดมากกว่าระบบเปียก เนื่องจากจะไม่มีเศษน้ำปูนหลงเหลืออยู่ในบริเวณปากหลุมเจาะ

ส่วนข้อเสียของการผสมแบบนี้ก็มีดังนี้ครับ
1. การกวนผสมผงซีเมนต์ให้เข้ากันกับเนื้อดินนั้นสามารถทำได้ยากกว่า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความสม่ำเสมอของเสาเข็มนะครับ
2. การควบคุมปริมาณน้ำต่อซีเมนต์ให้คงที่ตลอดการเทนั้นทำได้ยากมากกว่า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อกำลังของเสาเข็มครับ
3. การผสมโดยวิธีการนี้จะมีความเหมาะสมเฉพาะกับการก่อสร้างในพื้นที่ๆ ดินนั้นมีปริมาณความชื้นในดินค่อนข้างสูงครับ

วิธีการผสมแบบเปียก (WET PROCESS)

ข้อดีของการผสมแบบนี้มีดังนี้ครับ
1. การกวนผสมให้ดินนั้นเข้ากันกับสารผสมนั้นทำได้ง่ายกว่าวิธีผสมแบบแห้ง จึงทำให้เนื้อดินที่ผสมกับซีเมนต์นั้นมีความสม่ำเสมอมากกว่าระบบแบบแห้งครับ
2. การเลือกใช้วิธีการนี้จะสามารถควบคุมคุณภาพได้ง่ายกว่าการผสมแบบแห้ง เพราะ เราสามารถที่จะกำหนดอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ให้มีความคงที่ได้ดีกว่าการผสมแบบแห้งนะครับ
3. เราสามารถที่จะใช้วิธีการนี้ผสมได้กันกับดินทุกชนิด โดยที่ต้องทำการปรับสัดส่วนๆ ผสม และ ขบวนการในการกวนผสมให้มีความเหมาะสมกับดินแต่ละชนิดได้นะครับ

ส่วนข้อเสียของการผสมแบบนี้ก็มีดังนี้ครับ
1. ในกรณีที่เราใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ที่เท่ากันๆ วิธีการนี้จะให้ค่ากำลังอัดที่ต่ำกว่าระบบแบบแห้ง เนื่องมาจากว่ามีการเพิ่มน้ำให้เนื้อดิน ทำให้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์มีค่าสูง และ ที่กำลังอัดของเสาเข็มค่าเดียวกัน เราจะใช้อัตราส่วนปูนซีเมนต์ที่มากกว่าวิธีการผสมแบบแห้งด้วยครับ
2. โดยทั่วไปแล้วหากเราเลือกการผสมโดยวิธีการนี้จะพบว่าอัตราความเร็วในการก่อสร้างจะช้ากว่าวิธีการผสมแบบแห้งนะครับ
3. โดยปกติแล้วพื้นที่ๆ ทำการก่อสร้างโดยวิธีการนี้จะสกปรกกว่าวิธีผสมแบบแห้ง เนื่องมาจากว่าจะมีเศษน้ำปูนบริเวณปากหลุมเจาะ โดยเฉพาะเมื่อเราเลือกใช้ระบบ HIGH PRESSURE ส่วนระบบ LOW PRESSURE นั้นก็มีปัญหานี้เช่นกันนะครับ แต่ จะมีน้อยกว่าเท่านั้นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com