เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ สืบเนื่องจากโพสต์เมื่อวานนี้ที่ผมได้อธิบายให้แก่เพื่อนของพวกเราท่านหนึ่งที่เป็นแฟนเพจที่น่ารักของพวกเราซึ่งได้ให้ความกรุณาทำการสอบถามปัญหาเข้ามาข้อหนึ่งทางอินบ็อกซ์ของเพจโดยมีใจความของคำถามว่า “เพราะเหตุใดพอทำการสำรวจภายในส่วนของโครงสร้างเสาเข็มไมโครไพล์ของทางบริษัทภูมิสยามจึงไม่พบว่ามีการใช้ลวด PC WIRE หรือลวดอัดแรงเลยครับ?” ซึ่งผมก็ได้ให้คำอธิบายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าเป็นเพราะเหตุใด ปรากฏว่าก็ได้มีคำถามจากเพื่อนบนเฟซบุ้คของผมท่านหนึ่งว่า “อยากให้ผมยกตัวอย่างรูปจริงๆ ของโครงสร้างเสาเข็มประเภทที่เป็น เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ REINFORCED-PRECAST … Read More
การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ หากเพื่อนๆ มีโอกาสที่จะต้องไปทำการสำรวจอาคารที่มีการก่อสร้างเอาไว้แต่เดิมเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งซึ่งหนึ่งในการะบวนการที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการสำรวจอาคารก็คือ เรื่องโครงสร้างเสาเข็ม ตามปกติแล้วในการสำรวจอาคารเราอาจจะสามารถทำการเปิดโครงสร้างไปจนถึงปลายด้านล่างสุดของโครงสร้างฐานรากได้เลย ซึ่งก็จะทำให้เรานั้นสามารถที่จะมองเห็นได้ว่าโครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นเป็นโครงสร้างเสาเข็มชนิดใด ก่อสร้างด้วยกรรมวิธีการใด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเท่าใด แต่ สิ่งที่จะเป็นปัญหาหนักที่สุดที่เพื่อนๆ อาจจะต้องพบเจอก็จะเป็นคำถามว่า … Read More
เมื่อจะออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างทางลาดเพื่อจะใช้เป็นทางเดินสำหรับรถเข็น
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน วันนี้ผมอยากจะขออนุญาตมาแชร์และถือโอกาสมาตอบคำถามให้แก่รุ่นน้องของผมท่านหนึ่งที่ในวันนี้เราได้มีการให้ปรึกษากันว่า “เมื่อจะออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างทางลาดเพื่อจะใช้เป็นทางเดินสำหรับรถเข็น น้องท่านนี้เลือกที่จะใช้ระบบคานเป็น T-BEAM โดยให้ปีก (FLANGE) ของเจ้า T-BEAM นั้นเป็นพื้นของทางลาด โดยที่คานนี้วางอยู่บน เสาเดี่ยว (SINGLE COLUMN) และ ฐานรากที่ใช้เสาเข็มเดี่ยว (SINGLE PILE FOUNDATION) โดยที่น้องเลือกที่จะทำการออกแบบให้โครงสร้างเสาและฐานรากนั้นไม่ต้องรับโมเมนต์ที่จะเกิดขึ้นโดยการเลือกไปทำการปลดค่าโมเมนต์ที่หัวเสาออกไป … Read More
ความรู้และวิธีการอ่านข้อมูล รวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งาน
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ เนื่องจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ผมอยู่ที่ไต้หวันได้มีเพื่อนบนเฟซบุ้คของผมท่านหนึ่งได้สอบถามกันเข้ามาถึงเรื่องๆ หนึ่งและผมก็ได้รับปากว่า เมื่อใดที่ผมกลับมาที่ประเทศไทยเมื่อใดผมจะรีบดูให้ ซึ่งประเด็นและใจความของคำถามข้อนี้นมีดังต่อไปนี้ครับ “ผมกำลังจะทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารโรงงานในจังหวัดทางภาคอีสาน โดยที่ต้องการจะใช้ระบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION โดยที่ผมตั้งใจที่จะทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE … Read More