ไมโครไพล์ เสาเข็มต่อเติม สปันไมโครไพล์ ต่อเติมอาคาร ฐานรากอาคาร ที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้า โดย Bhumisiam (ภูมิสยาม)
ไมโครไพล์ เสาเข็มต่อเติม สปันไมโครไพล์ ต่อเติมอาคาร ฐานรากอาคาร ที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้า โดย Bhumisiam (ภูมิสยาม) เสาเข็มต่อเติม เพื่อทำฐานรากสร้างอาคารที่จอดรถ อาคาร จัสมิน ทาวเวอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี SPUN MICROPILE เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มที่ถูกออกแบบขึ้นมาสำหรับงานต่อเติมในที่แคบที่มีความสูงจำกัด … Read More
โครงสร้างราวกันตก
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ หากเพื่อนๆ มีโอกาสได้เดินทางไปตามท้องถนนด้วยรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางในประเทศไทยก็ดีหรือในต่างประเทศก็ดี เวลาที่เราต้องเดินทางขึ้นไปบนสะพานหรือทางยกระดับต่างๆ เพื่อนๆ เคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ว่า ราวกันตกที่ถูกทำการติดตั้งลงไปเพื่อทำหน้าที่ในการป้องกันการตกของรถยนต์นั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมดกี่ประเภทด้วยกัน ? ราวกันตกที่ว่านี้ถือได้ว่าเป็นชิ้นส่วนโครงสร้างอย่างหนึ่งก็ได้เพราะชิ้นส่วนๆ นี้จะต้องทำหน้าที่รับแรงกระแทกจากตัวรถยนต์หรือยานพาหนะใดๆ ก็ตามที่อาจจะมีการสัญจรไปมาบนท้องถนน ซึ่งหากจะทำการจำแนกประเภทของโครงสร้างราวกันตกจริงๆ … Read More
เฉลยคำตอบ ข้อสอบในวิชา THEORY OF STRUCTURES ข้อที่ 76
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน พบกันอีกเช่นเคยในวันบ่ายจันทร์แบบนี้โดยที่หัวข้อในวันนี้ผมจะมาเฉลยคำตอบในการสอบใบประกอบวิชาชีพในระดับภาคีวิศวกรที่ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของสภาวิศวกรนะครับ ในวันนี้จะเป็นข้อสอบในวิชา THEORY OF STRUCTURES นะครับ โดยที่ข้อสอบข้อนี้มีรายละเอียดของถามว่า ข้อที่ 76 คานช่วงเดี่ยวปลายยื่นรับน้ำหนักบรรทุกดังรูป ตำแหน่งที่โมเมนต์ดัดมีค่ามากที่สุดจะอยู่ห่างจากจุด A เป้นระยะประมาณ เฉลย เนื่องจากหากประเมินเร็วๆ ก็พอจะทราบแล้วนะครับว่าโครงสร้างคานนี้เป็นปัญหาโครงสร้างคานอย่างง่าย (DETERMINATE BEAM) … Read More
ตารางแสดงค่าความลึกของหลุมเจาะที่ควรใช้ในการทดสอบดินที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับขนาดและความสูงของอาคาร
ตารางแสดงค่าความลึกของหลุมเจาะที่ควรใช้ในการทดสอบดินที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับขนาดและความสูงของอาคาร หากขึ้นชื่อว่าเป็นวิศวกรที่ดี เรามักที่จะต้องเป็นนักปฎิบัติงานที่ต้องทำงานภายใต้มาตรฐานการทำงานที่ดีและมีความเชื่อถือได้ ทั้งนี้เพราะเมื่อต้องนำหลักการหนึ่งหลักการใดจากมาตรฐานเหล่านี้ไปปฎิบัติใช้ในการทำงานจริงๆ ได้เราก็ต้องสามารถที่จะอ้างอิงไปยังมาตรฐานนั้นๆ ได้ด้วยนะครับ ซึ่งผมถือว่าส่วนหนึ่งของคำถามข้อนี้นั้นเป็นความบกพร่องของผมเองนะครับที่ไม่ได้ทำการกล่าวอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลๆ นี้นะครับ ยังไงผมจะขออนุญาตเก็บประเด็นนี้เอาไว้เพื่อที่จะดำเนินการแก้ไขในการโพสต์ครั้งต่อๆ ไปนะครับ เอาเป็นว่าผมขออนุญาตตอบคำถามข้อนี้เลยก็แล้วกันนะครับ ข้อมูลที่ผมได้ให้คำแนะนำไปกับเพื่อนๆ ไปนั้นมีการอ้างอิงมาจากเอกสารหนังสือ แนวทางการตรวจสอบชั้นดินเพื่องานฐานราก ในหน้าที่ 13 ถึง 14 ซึ่งได้จัดทำโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย โดยเป็นเอกสารที่ถูกพิมพ์ไปเมื่อปี … Read More