วิธีในการเสริมกำลังให้แก่โครงสร้างคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

 

วันนี้ผมจะมาให้ความรู้และข้อคำแนะนำแก่เพื่อนๆ ถึงเรื่อง วิธีในการเสริมกำลังให้แก่โครงสร้างคอนกรีต หรือ ในภาษาอังกฤษเราจะใช้คำว่า STRUCTURAL STRENGTHENING หรือ STRUCTURAL RETROFITTING ทั้งนี้ก็เพื่อให้โครงสร้างคอนกรีตนั้นๆ มีความสามารถในการรับแรงต่างๆ ที่ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

โดยเมื่อเราจะทำการเสริมกำลังสิ่งแรกที่เราจำเป็นจะต้องทราบก่อน คือ เราต้องการที่จะเสริมกำลังให้แก่โครงสร้างคอนกรีตให้มีการเพิ่มความสามารถในการรับแรงประเภทใดเป็นหลักนั่นเองเพราะเราต้องเข้าใจก่อนว่า นน บรรทุกที่จะกระทำกับตัวโครงสร้างจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

 

(1) กรณีของ นน บรรทุกประเภทสถิตศาสตร์ หรือ STATIC LOAD CASE

 

(2) กรณีของ นน บรรทุกประเภทพลศาสตร์ หรือ DYNAMIC LOAD CASE

 

โดยผมจะขอเริ่มต้นอธิบายถึง (1) กรณีของ นน บรรทุกประเภทสถิตศาสตร์ หรือ STATIC LOAD CASE ก่อนก็แล้วกันนะครับ

โดยมากแล้วเมื่อเราพูดถึงกรณีของ นน บรรทุกแบบสถิตศาสตร์เราก็มักจะพูดถึง นน บรรทุกในแนวดิ่ง หรือ GRAVITY LOAD นั่นเป็นเพราะแรงประเภทนี้จะค่อนข้างเป็นแรงที่ไม่ได้มีการเคลื่อนที่ไปๆ มาๆ สักเท่าใด หรือ ต่อให้มีการเคลื่อนที่ ก็ต้องถือว่ามีค่าน้อยมากๆ ดังนั้นโดยมากแล้วในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเราก็มักที่จะเลือกใช้วิธีในการออกแบบเป็นวิธี STRENGTH BASED CONCRETE DESIGN หรือ SBCD นะครับ

 

สำหรับวิธี SBCD นั้นเราจะต้องทำการป้อนข้อมูลจำพวก “แรง” ที่โครงสร้างจะต้องสามารถต้านทานได้เข้าไป เช่น ค่าแรงตามแนวแกนทีได้รับการเพิ่มค่าแล้ว (Nu) แรงเฉือนที่ได้รับการเพิ่มค่าแล้ว (Vu) แรงโมเมนต์ดัดที่ได้รับการเพิ่มค่าแล้ว (Mu) เป็นต้นนะครับ

 

ซึ่งผลลัพธ์ที่จะได้ออกมาก็คือ “แรง” ที่โครงสร้างนั้นๆ จะสามารถรับได้ เช่น ค่าแรงตามแนวแกนทีโครงสร้างจะสามารถรับได้ (ØNn) แรงเฉือนทีโครงสร้างจะสามารถรับได้ (ØVn) แรงโมเมนต์ดัดทีโครงสร้างจะสามารถรับได้ (ØMn) เป็นต้นนะครับ

 

(2) กรณีของ นน บรรทุกประเภทพลศาสตร์ หรือ DYNAMIC LOAD CASE กันบ้างนะครับ

โดยมากแล้วเมื่อเราพูดถึงกรณีของ นน บรรทุกแบบพลศาสตร์เราก็มักจะพูดถึง นน บรรทุกในแนวราบ หรือ LATERAL LOAD นั่นเป็นเพราะแรงประเภทนี้จะค่อนข้างเป็นแรงที่มีการเคลื่อนที่ไปๆ มาๆ ตลอดเวลา และ การเคลื่อนที่นั้นจะถือว่ามีค่าที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของโครงสร้างในระดับที่มีนัยยะสำคัญ ดังนั้นโดยมากแล้วในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเราก็มักที่จะเลือกใช้วิธีในการออกแบบเป็นวิธี PERFORMANCE BASED CONCRETE DESIGN หรือ PBCD แทนที่จะเป็นวิธี SBCD เหมือนกับกรณี นน บรรทุกแบบสถิตศาสตร์นะครับ

 

สำหรับวิธี PBCD นั้นเราจะต้องทำการป้อนข้อมูลจำพวก “ผลของการตอบสนอง” ที่โครงสร้างจะต้องแสดงผลออกมาเข้าไป เช่น ค่ามุมหมุน (θ) หรือ ค่าการเคลื่อนที่ในแนวราบสัมพัทธ์ (∆) ที่ได้รับการพิจารณามาแล้วว่า จะมีความสอดคล้องกันกับระดับสมรรถนะของอาคารที่เรากำลังสนใจทำการออกแบบอยู่ เป็นต้นนะครับ

 

ซึ่งผลลัพธ์ที่จะได้ออกมาก็คือ “ระดับของการตอบสนอง” ที่โครงสร้างนั้นๆ จะแสดงออกมา เช่น ระดับที่มีการใช้งานอาคารได้ในทันที (IMMEDIATE OCCUPANCY-IO) ระดับที่มีความปลอดภัยต่อชีวิตของคนที่ใช้งานอาคาร (LIFE SAFETY-LS) ระดับที่ป้องกันการพังทลายลงมาของโครงสร้างอาคาร (COLLAPSE PREVENTION) เป็นต้นนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com